ชาวจีนรู้จักว่าต้นชาสามารถแยกเป็นสายพันธุ์ต่างๆมาได้แล้วเป็นพันกว่าปี ในหนังสือ The Classic of Tea 茶經 ที่เขียนโดยลู่อวี่ ในปี ค.ศ. 780 มีบันทึกเขียนไว้ว่าสีของใบชาแต่ละสายพันธุ์จะไม่เหมือนกัน ผ่านไปหลังจากนั้นหนึ่งพันปี ช่วงทศวรรษ 1780 ชาวจีนในฝูเจี้ยนประสบความสำเร็จในการปักชำต้นชา เป็นการขยายพันธุ์ต้นชาให้มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกันหมดทั้งแปลง โดยในปี ค.ศ. 1857 ก็ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์ต้นชาโดยใช้วิธีปักชำเป็นผลสำเร็จจำนวนสองสายพันธุ์ คือ เถี่ยกวนอิน 鐵觀音 กับ ฝูติ่งต้าไป๋ 福鼎大白
ในต้นชาสายพันธุ์พื้นเมืองทั่วทั้งปฐพี ไม่มีสายพันธุ์ชาพันธุ์ไหนสู้ฝูติ่งต้าไป๋ฉาได้
ในปี ค.ศ. 1985 มีการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ชาในจีนเป็นครั้งแรก สายพันธุ์หมายเลขหนึ่งคือ ฝูติ่งต้าไป๋ โดยมีเถี่ยกวนอินเป็นสายพันธุ์เบอร์ 7 และ ฝูเจี้ยนสุ่ยเซียน เป็นสายพันธุ์เบอร์ 9 ส่วน ฟ่งหวงสุ่ยเซียน ได้ลำดับที่ 17 สามสายพันธุ์แรก เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองของฝูเจี้ยน ส่วนฟ่งหวงสุ่ยเซียน เป็นพันธุ์พื้นเมืองของกวางตุ้ง (ชาตันฉงนั่นเอง)
ในจีน จะใช้ 3 สายพันธุ์เป็นสายพันธุ์หลักในการผสมพันธุ์ ตัวแรกคือ ฝูติ่งต้าไป๋ ตัวที่สองคือเถี่ยกวนอิน ตัวที่สามคือ ยวิ๋นหนานต้าเย่จ่ง 雲南大葉種 สายพันธุ์พื้นเมืองของยูนนานที่เอาไปทำผูเอ่อนั่นเอง
ฝูติ่ง ถือเป็นพันธุ์อันดับหนึ่งของจีน เป็นพันธุ์สุดยอด เกิดขึ้นโดยการผสมพันธุ์ไปมาตามธรรมชาติเป็นพันๆปี จนชาวฝูเจี้ยนไปเจอผ่านการคัดเลือก นิยมนำมาทำชาขาว เพราะเอกลักษณ์ทางด้านรสชาติเป็นเลิศ นำไปทำชาได้ทุกประเภท ในต้นชาสายพันธุ์พื้นเมืองทั่วทั้งปฐพี ไม่มีสายพันธุ์ชาพันธุ์ไหนสู้ฝูติ่งต้าไป๋ฉาได้
เถี่ยกวนอินถูกค้นพบโดยชายที่ตื่นไปทำความสะอาดวัดเจ้าแม่กวนอิมทุกเช้า จนเจ้าแม่กวนอิมมาเข้าฝัน ให้ไปตามหาต้นชาจนพบ ปัจจุบันต้นชาเถี่ยกวนอินต้นแม่ก็ยังอยู่ที่อานชี อายุสามร้อยปี และลูกหลานของชายคนที่ค้นพบชาต้นนี้ก็ยังทำชากันอยู่ที่อานชี สายพันธุ์นี้ให้กลิ่นหอมเป็นเลิศ เวลาเอาไปผสมพันธุ์ มักใช้เป็นแม่พันธุ์ พบว่าความหอมมันมักถ่ายทอดจากแม่ไปสู่รุ่นลูก
อีกสายพันธุ์คือ ยวิ๋นหนานต้าเย่จ่ง 雲南大葉種 นิยมใช้กันมากเช่นกัน เป็นพันธุ์ที่ทนถึก ให้ความแข็งแรง มักใช้เป็นพ่อพันธุ์ สายพันธุ์เจ้อหนงของมหาวิทยาลัยเจ๋อเจียง ก็ใช้พันธุ์นี้ผสม จนได้สายพันธุ์ชาใหม่ที่เอาไปทำชาหลงจิ่ง พันธุ์ที่ดังๆก็เจ้อหนง 117 และ เจ้อหนง 139 ความสามารถพิเศษคือทนต่อสภาวะแวดล้อมที่รุนแรงได้ดีกว่าเดิม
ในรูปคือสายพันธุ์เถี่ยกวนอิน ที่ชาวไต้หวันเอาจากจีนแผ่นดินใหญ่มาปลูก โดยที่ไต้หวันจริงๆแล้วก็มีต้นชาพันธุ์พื้นเมืองขึ้นอยู่ แต่รสชาติไม่อร่อย ในยุคร้อยกว่าปีก่อนไต้หวันทำชาส่งออกนอก แข่งกันกับญี่ปุ่นและจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งพอถึงจุดหนึ่งที่สู้จีนกับญี่ปุ่นไม่ได้ จึงไปขนต้นกล้ามาจากฝูเจี้ยน เพราะการจะเริ่มพัฒนาต้นชาสายพันธุ์ใหม่ได้นั้นต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปี เถี่ยกวนอิน กับชิงซินอู่หลง ที่ปลูกกันในไต้หวันก็เป็นสายพันธุ์ที่เอามาจากฝูเจี้ยน
KYOBASHI Chiang Rai
SHOPEE: https://shp.ee/2g542sh
LAZADA: lazada.co.th/shop/kyobashi-tea
.