…โครงสร้างของ “ฉะเซ็น” (茶筅: Chasen) คือท่อนไม้ไผ่ที่ด้านหนึ่งทำหน้าที่เป็นด้ามจับ ส่วนอีกด้านหนึ่งถูกผ่าและซอยออกเป็นซี่เล็กๆ เอาไว้สำหรับใช้ชงชามัทฉะ
จำนวนซี่ของฉะเซ็นนั้นโดยปกติจะเริ่มต้นที่ 70-80 ซี่ ไปจนถึงจำนวนที่มากขึ้นอย่าง 100 และ 120 ซี่…ยิ่งฉะเซ็นมีจำนวนซี่มากเท่าไรก็จะยิ่งมีราคาแพงมากขึ้น และดูแลรักษายากมากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะเซ็นจะบอบบางลง (ลองนึกถึงหน้าตัดรูปวงกลมของไม้ไผ่ครับ ถ้าแบ่งเป็นจำนวน 80 ซี่ แต่ละซี่ก็จะหนาหน่อย แต่ถ้าแบ่งซอยมากขึ้นเป็น 120 ซี่ บนพื้นที่จำนวนเท่าเดิม แต่ละซี่ก็จะบางลง)
ด้วยเหตุนี้ ฉะเซ็นที่มีจำนวนซี่เยอะๆ เลยมีราคาแพงตามไปด้วยครับ เพราะต้องใช้ความละเอียดในการผลิตมากขึ้นกว่าเดิม
…ส่วนข้อแตกต่างระหว่างจำนวนซี่เยอะกับจำนวนซี่น้อยนั้น คือ เวลาใช้ฉะเซ็นตีชามัทฉะ ยิ่งฉะเซ็นที่ใช้มีจำนวนซี่เยอะ มัทฉะที่ชงได้ก็จะยิ่งมีฟองชาที่ละเอียดมากขึ้น เพราะจำนวนซี่ที่มากขึ้น หมายถึง ขนาดของไม้ไผ่แต่ละซี่ที่จะเล็กลง ซึ่งซี่ไม้ไผ่ที่เล็กลงนี้เอง จะไปตีฟองชาให้แตกตัวและมีขนาดละเอียดยิ่งขึ้นครับ
KYOBASHI รู้เฟื่องเรื่องชา