” ปรัชญาของชา “
ปรัชญาของชามิได้เป็นเพียงสุนทรียนิยมในแง่ของความหมายที่ยอมรับกันโดยดาษดื่น เพราะมันแสดงออกถึงมุมมองของเราทั้งหมดเกี่ยวกับมนุษย์และธรรมชาติอย่างสอดคล้องกันระหว่างจริยธรรมและศาสนา
ปรัชญาของชามิได้เป็นเพียงสุนทรียนิยมในแง่ของความหมายที่ยอมรับกันโดยดาษดื่น เพราะมันแสดงออกถึงมุมมองของเราทั้งหมดเกี่ยวกับมนุษย์และธรรมชาติอย่างสอดคล้องกันระหว่างจริยธรรมและศาสนา
ช่วงแรกๆที่อังกฤษเริ่มผลิต ชาที่อัสสัม เอง มีการทดลองใช้กระจกสีต่างๆในห้องหมักชา แต่ก็พบว่าสีของกระจกไม่มีผลต่อการหมัก ต่อมาจึงทดลองหมักชาไว้บนพื้นผิววัสดุต่างๆ เช่น ไม้ กระจก เหล็ก หญ้า พลาสติก อลูมิเนียม แต่พบว่าพื้นผิวที่ดีที่สุดคือหมักชาบนพื้นซีเมนต์ เพราะพื้นซีเมนต์มีความเย็น ทั้งยังดูดซึมความชื้น
ช่วงที่ 1 นั้นนับตั้งแต่พ่อค้าชาวดัทช์นำชาจากจีนเข้าไปขายยังอังกฤษปี 1610 ชาดำที่นำไปขายคือแลปซาง ซูชอง ทุกขั้นตอนการผลิตทำด้วยมือ การนำเข้าชาจากจีนพีคสุดๆในปี 1886 หลังจากนั้นยอดนำเข้าก็ค่อยๆลดลงเพราะอังกฤษสามารถปลูกชาได้ที่อินเดีย
“สถานที่เก็บชา” ต้องเป็นสถานที่ที่ไม่โดนแสงแดดส่องถึง และต้องมีความชื้นต่ำ ร้านที่ดีที่สุดคือร้านที่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเก็บชา โดย ชา ต้องไม่ถูกวางใกล้กับอาหารประเภทอื่น เพราะใบชาเป็นวัตถุดูดซับกลิ่น