เล่าเรื่องชา ที่อัสสัมกับอังกฤษ

ช่วงแรกๆที่อังกฤษเริ่มผลิต ชาที่อัสสัม เอง มีการทดลองใช้กระจกสีต่างๆในห้องหมักชา แต่ก็พบว่าสีของกระจกไม่มีผลต่อการหมัก ต่อมาจึงทดลองหมักชาไว้บนพื้นผิววัสดุต่างๆ เช่น ไม้ กระจก เหล็ก หญ้า พลาสติก อลูมิเนียม แต่พบว่าพื้นผิวที่ดีที่สุดคือหมักชาบนพื้นซีเมนต์ เพราะพื้นซีเมนต์มีความเย็น ทั้งยังดูดซึมความชื้น

อ่านต่อ

ประวัติศาสตร์ชา จากมุมมองของชาวยุโรป

ช่วงที่ 1 นั้นนับตั้งแต่พ่อค้าชาวดัทช์นำชาจากจีนเข้าไปขายยังอังกฤษปี 1610 ชาดำที่นำไปขายคือแลปซาง ซูชอง ทุกขั้นตอนการผลิตทำด้วยมือ การนำเข้าชาจากจีนพีคสุดๆในปี 1886 หลังจากนั้นยอดนำเข้าก็ค่อยๆลดลงเพราะอังกฤษสามารถปลูกชาได้ที่อินเดีย

อ่านต่อ

” คุณสมบัติของ ร้านขายชา ที่ดี “

“สถานที่เก็บชา” ต้องเป็นสถานที่ที่ไม่โดนแสงแดดส่องถึง และต้องมีความชื้นต่ำ ร้านที่ดีที่สุดคือร้านที่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเก็บชา โดย ชา ต้องไม่ถูกวางใกล้กับอาหารประเภทอื่น เพราะใบชาเป็นวัตถุดูดซับกลิ่น

อ่านต่อ

ฉาชี่ (茶氣) คืออะไร?

เมืองจีน ถือว่าฉาชี่ ก่อให้เกิดอาการต่างๆในร่างกายคนแตกต่างกันไป หมายความว่า ถึงจะเป็นชาตัวเดียวกัน แต่หากต่างคนดื่ม แต่ละคนก็จะมีอาการแตกต่างกันออกไป หรือถึงเป็นคนเดียวกัน แต่ถ้าหากดื่มในต่างเวลา ต่างสถานที่ ต่างสภาพแวดล้อม ก็จะก่อให้เกิดอาการที่แตกต่างกัน

อ่านต่อ

ชากิโลละ 1.32 ล้านบาท หน้าตาเป็นยังไง (ชารางวัลชนะเลิศ ตอนที่ 2)

แต่ละรอบจะมีชาเข้าร่วมประกวดประมาณ 1,000 ล็อต จากผู้ผลิตหลายร้อยราย คนที่ได้รางวัลชนะเลิศ จะมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น โดยชาแต่ละล็อตที่ส่งประกวด จะมีทั้งสิ้น 10 ชั่งไต้หวัน (ชั่งละ 6 ขีด) ก็เท่ากับ 6 กิโลกรัม

อ่านต่อ

ไปเยี่ยมบ้านน้องตงฟางฯ กันครับ (ชารางวัลชนะเลิศ ตอนที่ 1)

หลังจากหมักชาเรียบร้อย ซึ่งกลิ่นและรสต่างๆของชาอู่หลง ทั้งหอมดอกไม้ รสฟรุ้ตตี้ จะเกิดขึ้นระหว่างการหมักนี้ ขั้นตอนถัดไปคือการผัดชาครับ การผัดชาก็มีหลายสูตร ชาที่ชงแบบ cold brew ได้ก็จะมีสูตรการผัดที่ต่างออกไปจากชาที่ชงร้อนได้อย่างเดียวครับ

อ่านต่อ

ชาคริสต์มาส Christmas TEA Collection

ชาคริสต์มาส สำหรับเทศกาลปีใหม่นี้ มีให้เปิดจองและพร้อมจัดส่งแล้วนะครับ ชาคริสต์มาสปีนี้มีมาทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกันครับ

อ่านต่อ

วิธีเก็บรักษาอู่หลงอบไฟ

ชาเก่าๆความหอมในโทนดอกไม้มันจะเริ่มหาย รสผลไม้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นรสบ๊วย คือมีความเปรี้ยวแบบบ๊วยผสานกับกลิ่นหวานๆของน้ำตาลที่ไหม้ไฟ ในส่วนของความแรงของไฟก็จะค่อยๆหายไปจนสัมผัสไม่ได้ เหลือแต่กลิ่นควันจางๆ รสก็จะกลมๆ คือมีความทุ้มลึก แต่ไม่แหลม ถ้าใครชอบชาเก่า พอเปิดชาอู่หลงอบไฟพวกนี้ก็ปล่อยมันไว้ในกระปุกหรือซองเลย แต่ถ้าใครไม่ชอบให้มันเก่า พอเปิดทิ้งไว้ให้มันถอนไฟ ได้สัก 6 เดือนหรือหนึ่งปี

อ่านต่อ

เกร็ดเล็กๆ ก่อนจะมาเป็น ตงฟางเหม่ยเหริน

ปกติชา ตงฟางเหม่ยเหริน จะทำ 2 ฤดูครับ คือฤดูร้อนกับฤดูหนาว สำหรับชาตงฟางเหม่ยเหริน ชาฤดูร้อนจะทำออกมาได้รสชาติดีกว่า สาเหตุเป็นเพราะว่าในฤดูร้อนนั้นมีแมลงมาก โอกาสที่ยอดชาจะถูกแมลงกัดก็มีมากกว่า ยอดชาแบบนี้ พอนำมาหมักแล้วจะให้รสและกลิ่นในโทนของน้ำผึ้งกับผลไม้สุกที่มากกว่า

อ่านต่อ