Skip to content
Category Archives: การชงชาแบบจีน (กงฟูฉา)
You are here:
- Home
- การชงชา
- Category "การชงชาแบบจีน (กงฟูฉา)"
ช่วงนี้อ่านหนังสือเกี่ยวกับเหยียนฉาครับ เลยได้ข้อมูลเกี่ยวกับการชงมาแลกเปลี่ยนกัน เฉินเสี้ยวเหวิน 陈孝文 อาจารย์ทำเหยียนฉาชื่อดังของอู่อี๋ ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า
ก่อนอื่นนั้น ในส่วนของปริมาณชาต่อน้ำ ให้ใช้ใบชาราว 8 กรัม ต่อน้ำ 100-110 มล (หนึ่งก้ายหว่าน)
การล้างและกระตุ้นใบชา ให้ทำอย่างรวดเร็ว เทน้ำลงไปแล้วให้รินทิ้งทันที
ตงฟางเหม่ยเหริน หรือ ไป๋หาวอู่หลง เป็นชาที่มีหลายชื่อครับ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ไต้หวัน ถือกำเนิดมาเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน คือราวปลายศตวรรษที่ 19 เกิดจากการต้องการแปรรูปยอดชาที่ถูกเพลี๊ยจั๊กจั่นดูดกินน้ำเลี้ยง ยอดชาจึงหงิกงอ กระดำกระด่าง แลดูแล้วไม่สวย หากทว่ายอดชาที่ถูกเพลี๊ยดูดกินน้ำเลี้ยงนั้นมีกลิ่นหอม เมื่อนำมาทำชาแล้วเกิดกลิ่นผสมผสานกันระหว่างกลิ่นน้ำผึ้ง และกลิ่นหอมของผลไม้ โดยกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์นี่เองที่ทำให้ชาตัวนี้โด่งดังขึ้นมา
“ชาแดงฉีเหมิน” (Keemun) คือชาจากประเทศจีน ตั้งชื่อตามเมืองฉีเหมิน มณฑลอันฮุย มีกลิ่นหอมดอกไม้ คล้ายกลิ่นกล้วยไม้ มีคุณสมบัติช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น
” Jumping ” คือลักษณะการเคลื่อนไหวของใบชา ที่ไหลวนไปมาภายในกาหลังจากเทน้ำร้อนลงไป
เคล็ดลับในการทำให้ใบชาเกิดการเคลื่อนไหวแบบ Jumping นั้น มีอยู่ว่า ควรจะเทน้ำร้อนจากที่สูงๆ ให้น้ำร้อนตกกระทบกับใบชา ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ใบชาตื่นตัว อีกทั้งแรงกระทบจะพาใบชาไหลวนไปทั่วกา ทำให้รสชาติของชาออกมามากขึ้น
เปลือกส้มถูกใช้ในเมืองจีนในฐานะเครื่องปรุงรสและยาแพทย์แผนจีนมาเป็นระยะยาวนานกว่าหนึ่งพันปี เมื่อนำไปชงกับน้ำร้อน เปลือกส้มจะให้รสที่หวานเด่น ตามด้วย aftertaste ที่เจือความฝาดและขมอ่อนๆ
Go to Top
error: Content is protected !!