ฉะเซ็น 御茶筌 Chasen แปรงชงมัทฉะ กับสุนทรียศาสตร์แห่งการชง

มีคำถามและข้อสงสัยในหมู่นักดื่มมัทฉะชาวไทยมากมายว่า ถ้าจะซื้อฉะเซ็น รุ่นไหนตีขึ้นฟองได้ดีที่สุด? หรือ รุ่นไหนจับถนัดมือและตีได้ง่ายที่สุด? หรือ ทำไมฉะเซ็นจึงมีหลากหลายรูปทรงแตกต่างกัน? เนื่องจากเดือนที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาถามหาฉะเซ็นญี่ปุ่นหลายท่าน จึงขอรวบรวมข้อมูลเท่าที่รู้ จากหนังสือเกี่ยวกับฉะเซ็นภาษาญี่ปุ่น บวกกับความรู้ที่ได้จากช่างฝีมือทำฉะเซ็นสองท่าน คือคุนคุโบะ ซะบุน กับคุณทะนิมุระ ทันโกะ ให้ผู้อ่านทุกท่านไว้ใช้พิจารณา

ข้อห้ามสำหรับช้อนไม้ไผ่

ฉะชะขุ หรือช้อนไม้ไผ่ มีข้อห้ามที่สำคัญข้อหนึ่ง คือ หลังจากใช้ตักมัทฉะแล้ว “ห้ามล้าง” หรือ “ห้ามโดนน้ำ” เด็ดขาด!!!!

” ประวัติของขนมไดฟุกุ “

ที่ญี่ปุ่น มีเรื่องเล่าว่า ขนมไดฟุกุ มาจากขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า “อุซึระโมจิ” (鶉餅:うずらもち) หรือ “โมจินกกระทา” เพราะมีชิ้นใหญ่ ยาว และรูปร่างเหมือนนก

“ทะคะโฮะ” 高穂 ฉะเซ็นอันแรกบนโลก

“ทะคะโฮะ” 高穂 ฉะเซ็นอันแรกบนโลก

เมื่อวานผมไปเยี่ยมคุณคุโบะ ซะบุน (久保左文) ช่างฝีมือฉะเซ็น ที่จังหวัดนารา ประเทศญี่ปุ่น เลยได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับฉะเซ็นเพิ่มเติมมากขึ้น ฉะเซ็นทางด้านขวามือในรูป มีชื่อว่า “ทะคะโฮะ” เขียนเป็นตัวคันจิได้ว่า 高穂 โดยตัว 高 นั้นแปลได้ว่าสูงส่ง

ชื่อมงคลที่คนญี่ปุ่นนิยมนำมาตั้งเป็นชื่อ “ฉะชะขุ”

・徒然(สึเระซึเระ) แปลว่า “ว่างวาย”
・和やか(นาโกยะกะ) แปลว่า “อบอุ่น”
・聖(ฮิจิริ) แปลว่า “ศักดิ์สิทธิ์”
・無事(บุจิ) แปลว่า “นิรันดร์”

“เซนฉะ” (煎茶: Sencha)

“เซนฉะ” (煎茶: Sencha) คือชาเขียวชนิดหนึ่ง ที่นำใบชาไปนึ่ง โดยไม่ผ่านการหมัก เป็นที่นิยมของคนญี่ปุ่นมาก โดยคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 80% ของชาเขียวที่ถูกผลิตในญี่ปุ่นทั้งหมด เซนฉะ มีทั้งรสชาติขม และหวานอุมามิ ขึ้นอยู่กับเกรดของใบชา และอุณหภูมิของน้ำที่ใช้ชง

การเก็บรักษาฉะเซ็น (Chasen)

หลังจากใช้ฉะเซ็นเสร็จ ควรนำไปแกว่งในน้ำอุ่น แกว่งเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับมัทฉะก็พอครับ ไม่ต้องเอาไปล้างน้ำทั้งอัน พอแกว่งเสร็จสักสองน้ำก็นำมาตั้งไว้ให้แห้ง ถ้าใครมีเซรามิกที่เอาไว้สำหรับพักฉะเซ็น ก็เอาไปเสียบไว้ รอให้แห้ง ก็ได้ครับ ที่พักฉะเซ็นนี้มีข้อดีคือ น้ำไม่ไหลเข้าส่วนที่เป็นที่จับ แล้วก็ช่วยรักษารูปทรงของฉะเซ็น