ชาอู่หลง : Oolong Tea
ชาอู่หลง แบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทใหญ่ๆ ตามแหล่งกำเนิด ภาษาจีนเรียกว่า ซื่อต้าอู่หลง 四大烏龍 ได้แก่ กว่างตงอู่หลง หมินหนานอู่หลง หมินเป่ยอู่หลง และ ไถวันอู่หลง
ชาอู่หลง แบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทใหญ่ๆ ตามแหล่งกำเนิด ภาษาจีนเรียกว่า ซื่อต้าอู่หลง 四大烏龍 ได้แก่ กว่างตงอู่หลง หมินหนานอู่หลง หมินเป่ยอู่หลง และ ไถวันอู่หลง
ต้นชาคือพืชที่อยู่ในสกุลคาเมลเลีย (Camellia) วงศ์ชา (Theaceae อ่านว่า ธีเอซี) ต้นชาก็เหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ คือมีหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆได้อย่างมากมาย
ช่วงปีก่อนเพื่อนไต้หวันพาไปทัวร์ร้านชาหลายร้าน เจอเมนู Sparkling Iced Tea ในร้านชาบางร้าน คือเขาเอาชาไต้หวันเนี่ยมาทำการ cold brew ในน้ำโซดา แล้วปรุงรสต่างๆลงไป ก็พบว่ารสชาติมันออกมาค่อนข้างดีเลยทีเดียว คือได้คาแรกเตอร์ของชา บวกความหวาน ความซ่า และความเย็นเข้าไป จึงกลายเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับดื่มในเวลาอากาศร้อนๆเป็นอย่างมาก
หลังจากสิ้นสุดยุคของเอไซ ชาญี่ปุ่น เริ่มผูกผันกับสังคมญี่ปุ่น การบริโภคชาเริ่มแพร่หลายจากชนชั้นนักรบ ราชวงศ์ และพระ ลงมาสู่ประชาชนทั่วไป มีการนำชาไปผูกกับการละเล่นต่างๆ โดยมีชาเป็นศูนย์กลาง ทั้งการดื่มเพื่อทายชื่อชา หรือแหล่งผลิตชา คล้ายกับการดื่มไวน์ในสมัยนี้
ชาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถหลอกกันได้ในระดับหนึ่งครับ ถ้าหากว่าดูชาเป็น อย่างเช่นว่าสายพันธุ์ไหน เก็บฤดูไหน คนที่ทำชามาหลายปี หรือดื่มชามาเยอะ หากเวลาที่ดื่มรู้จักสังเกตควบคู่ไปด้วย ก็จะดูออกครับ
ช่วงที่ผ่านมาผมหาหนังสืออ่านเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาดำที่เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น เพราะอยากรู้ว่าญี่ปุ่นจะเขียนเรื่องนี้ไว้ว่าอย่างไร หนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า 一杯の紅茶の世界史 เนื้อหาที่เขียนไว้กล่าวถึงต้นกำเนิดของชาดำเหมือนกันกับหนังสือของจีนอย่างไม่ผิดเพี้ยน คือช่วงต้นศตวรรษที่ 17
การทำ ชาเขียว ซะกุระเซนฉะนั้น เบสชาไม่ใช่ปัญหาครับ กลิ่นก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะทางญี่ปุ่นมีบริษัทรับผลิตให้ได้ แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นคือจะเอากลีบซะกุระอบแห้งมาจากไหน ปัญหานี้ใหญ่มาก จนถึงกับว่าแบรนด์ชาเบลนด์ของฝรั่งที่ทำซะกุระเซนฉะ ต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้กลีบกุหลาบผสมลงไปเพื่อสร้างสุนทรียภาพ(มโน)ให้เกิดอารมณ์ว่ากำลังดื่มซะกุระเซนฉะอยู่
ในไต้หวัน มีกฏเกณฑ์กำหนดว่า ชาที่จะเรียกได้ว่าเกาซานฉา จะต้องปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป มีตั้งแต่อาหลีซาน ลี่ซาน ซานหลินซี โดยพื้นที่ที่สูงที่สุด คือโฝโส่วซาน และต้าหยูหลิ่ง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกชาสูงตั้งแต่ 2,500 เมตร ไปจนถึง 2,700 เมตร เป็นพื้นที่ปลูก ชาอู่หลง ที่สูงที่สุดบนโลกของเรา
ชาที่มีบอดี้ คือ ชา ที่มีเนื้อ คำว่ามีเนื้อนี้หมายความว่าเวลาดื่มน้ำชาเข้าไปแล้วจะสัมผัสได้ถึงความแน่นและความหนัก ในความเป็นจริงชาที่มีบอดี้ดีมากๆ เมื่อริมฝีปากได้สัมผัสกับน้ำชาครั้งแรกแล้วก็จะสัมผัสได้ถึงบอดี้ทันที เพราะน้ำมีความหนืด มีตัวตนที่รู้สึกได้ ไม่เบาหวิวเหมือนน้ำเปล่า บอดี้ของชาจะสัมผัสได้ดีที่สุดเมื่อน้ำชามีอุณหภูมิอยู่ที่ราว 50 องศาเซลเซียส