เล่าเรื่องชา ที่อัสสัมกับอังกฤษ

ช่วงแรกๆที่อังกฤษเริ่มผลิต ชาที่อัสสัม เอง มีการทดลองใช้กระจกสีต่างๆในห้องหมักชา แต่ก็พบว่าสีของกระจกไม่มีผลต่อการหมัก ต่อมาจึงทดลองหมักชาไว้บนพื้นผิววัสดุต่างๆ เช่น ไม้ กระจก เหล็ก หญ้า พลาสติก อลูมิเนียม แต่พบว่าพื้นผิวที่ดีที่สุดคือหมักชาบนพื้นซีเมนต์ เพราะพื้นซีเมนต์มีความเย็น ทั้งยังดูดซึมความชื้น

อ่านต่อ

วิธีเก็บรักษาอู่หลงอบไฟ

ชาเก่าๆความหอมในโทนดอกไม้มันจะเริ่มหาย รสผลไม้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นรสบ๊วย คือมีความเปรี้ยวแบบบ๊วยผสานกับกลิ่นหวานๆของน้ำตาลที่ไหม้ไฟ ในส่วนของความแรงของไฟก็จะค่อยๆหายไปจนสัมผัสไม่ได้ เหลือแต่กลิ่นควันจางๆ รสก็จะกลมๆ คือมีความทุ้มลึก แต่ไม่แหลม ถ้าใครชอบชาเก่า พอเปิดชาอู่หลงอบไฟพวกนี้ก็ปล่อยมันไว้ในกระปุกหรือซองเลย แต่ถ้าใครไม่ชอบให้มันเก่า พอเปิดทิ้งไว้ให้มันถอนไฟ ได้สัก 6 เดือนหรือหนึ่งปี

อ่านต่อ

เกร็ดเล็กๆ ก่อนจะมาเป็น ตงฟางเหม่ยเหริน

ปกติชา ตงฟางเหม่ยเหริน จะทำ 2 ฤดูครับ คือฤดูร้อนกับฤดูหนาว สำหรับชาตงฟางเหม่ยเหริน ชาฤดูร้อนจะทำออกมาได้รสชาติดีกว่า สาเหตุเป็นเพราะว่าในฤดูร้อนนั้นมีแมลงมาก โอกาสที่ยอดชาจะถูกแมลงกัดก็มีมากกว่า ยอดชาแบบนี้ พอนำมาหมักแล้วจะให้รสและกลิ่นในโทนของน้ำผึ้งกับผลไม้สุกที่มากกว่า

อ่านต่อ

Premium Matcha มัทฉะ เกรดพิธีชงชา

ทุกวันนี้ ชาที่ผลิตในญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ถูกผลิตขึ้นโดยเครื่องจักร automatic ทั้งสิ้น โดยผู้ผลิตเครื่องจักรเหล่านี้ก็มีเพียงไม่กี่เจ้า จึงอาจเรียกได้ว่า รสชาติของชา อาจไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ถ้าจะทำให้แตกต่าง ก็ต้องมาเล่นเรื่องสายพันธุ์ หรือวิธีการเก็บ การดูแลรักษาต้นชา เพราะถ้าหากนำใส่เครื่องจักรไปแล้ว กรรมวิธีที่เหลือก็ไม่ค่อยจะต่างกัน

อ่านต่อ

ชา – รสชาติแบบต้นตำรับ หรือรสตามแบบสมัยนิยม?

มีเถ้าแก่ร้านชาร้านหนึ่งสอนผมไว้ว่า ควรจะรู้จักดื่มชาที่ผลิตออกมาตามสูตรต้นตำรับเข้าไว้ เพราะถ้าในอนาคตเราดื่มชาที่มาจากหลากหลายผู้ผลิต และหลากหลายแหล่งปลูก รสชาติต้นตำรับจะคอยเปรียบเสมือนกับไม้บรรทัด โดยทำหน้าที่เป็น reference ที่เราสามารถนำมาอ้างอิงได้ เวลาจะให้ความเห็นเกี่ยวกับรสชาติของชาตัวใดๆ

อ่านต่อ

ชาเขียว Sakura X Sencha Story

การทำ ชาเขียว ซะกุระเซนฉะนั้น เบสชาไม่ใช่ปัญหาครับ กลิ่นก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะทางญี่ปุ่นมีบริษัทรับผลิตให้ได้ แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นคือจะเอากลีบซะกุระอบแห้งมาจากไหน ปัญหานี้ใหญ่มาก จนถึงกับว่าแบรนด์ชาเบลนด์ของฝรั่งที่ทำซะกุระเซนฉะ ต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้กลีบกุหลาบผสมลงไปเพื่อสร้างสุนทรียภาพ(มโน)ให้เกิดอารมณ์ว่ากำลังดื่มซะกุระเซนฉะอยู่

อ่านต่อ

ชาอู่หลง จากพื้นที่ปลูกชาที่สูงที่สุดบนโลก

ในไต้หวัน มีกฏเกณฑ์กำหนดว่า ชาที่จะเรียกได้ว่าเกาซานฉา จะต้องปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป มีตั้งแต่อาหลีซาน ลี่ซาน ซานหลินซี โดยพื้นที่ที่สูงที่สุด คือโฝโส่วซาน และต้าหยูหลิ่ง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกชาสูงตั้งแต่ 2,500 เมตร ไปจนถึง 2,700 เมตร เป็นพื้นที่ปลูก ชาอู่หลง ที่สูงที่สุดบนโลกของเรา

อ่านต่อ

คุณภาพของ ชา ตอนที่ 1 : บอดี้ของ ชา

ชาที่มีบอดี้ คือ ชา ที่มีเนื้อ คำว่ามีเนื้อนี้หมายความว่าเวลาดื่มน้ำชาเข้าไปแล้วจะสัมผัสได้ถึงความแน่นและความหนัก ในความเป็นจริงชาที่มีบอดี้ดีมากๆ เมื่อริมฝีปากได้สัมผัสกับน้ำชาครั้งแรกแล้วก็จะสัมผัสได้ถึงบอดี้ทันที เพราะน้ำมีความหนืด มีตัวตนที่รู้สึกได้ ไม่เบาหวิวเหมือนน้ำเปล่า บอดี้ของชาจะสัมผัสได้ดีที่สุดเมื่อน้ำชามีอุณหภูมิอยู่ที่ราว 50 องศาเซลเซียส

อ่านต่อ

ข้อแตกต่างของ ชาเขียว กับชาประเภทอื่นๆ

ชาเขียวคือหนึ่งในชายอดนิยมที่มีผู้ดื่มทั่วโลก โดยยอดปริมาณการบริโภคชาเขียวในแต่ละปีบนโลกของเรา อยู่ที่ราว 600,000 ตัน มีประเทศจีนเป็นอันดับหนึ่ง โดยปริมาณการบริโภคชาเขียวในประเทศจีนนั้นคิดเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณที่บริโภคกันทั้งโลก ตามด้วยญี่ปุ่น บริโภคชาเขียวปีละ 80,000 ตัน (World Green Tea Association, 2022) ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราก็สามารถผลิตชาเขียวเองได้

อ่านต่อ