” ครั้งหนึ่งในชีวิต ” ปรัชญาในการทุ่มเทของคนญี่ปุ่น

ที่ญี่ปุ่น…จะมีคำอยู่คำหนึ่ง เขียนด้วยตัวอักษรคันจิสี่ตัว ถือเป็นคำมงคลที่พบเห็นได้บ่อยในประเทศญี่ปุ่น คำๆนั้นคือคำว่า 一期一会 อ่านออกเสียงว่า ” อิจิโกะ อิจิเอะ ” แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “Once in a Lifetime” หรือ “ครั้งหนึ่งในชีวิต”

อ่านต่อ

ฉาชี่ (茶氣) คืออะไร?

เมืองจีน ถือว่าฉาชี่ ก่อให้เกิดอาการต่างๆในร่างกายคนแตกต่างกันไป หมายความว่า ถึงจะเป็นชาตัวเดียวกัน แต่หากต่างคนดื่ม แต่ละคนก็จะมีอาการแตกต่างกันออกไป หรือถึงเป็นคนเดียวกัน แต่ถ้าหากดื่มในต่างเวลา ต่างสถานที่ ต่างสภาพแวดล้อม ก็จะก่อให้เกิดอาการที่แตกต่างกัน

อ่านต่อ

ชาอู่หลง จากพื้นที่ปลูกชาที่สูงที่สุดบนโลก

ในไต้หวัน มีกฏเกณฑ์กำหนดว่า ชาที่จะเรียกได้ว่าเกาซานฉา จะต้องปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป มีตั้งแต่อาหลีซาน ลี่ซาน ซานหลินซี โดยพื้นที่ที่สูงที่สุด คือโฝโส่วซาน และต้าหยูหลิ่ง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกชาสูงตั้งแต่ 2,500 เมตร ไปจนถึง 2,700 เมตร เป็นพื้นที่ปลูก ชาอู่หลง ที่สูงที่สุดบนโลกของเรา

อ่านต่อ

คุณภาพของ ชา ตอนที่ 1 : บอดี้ของ ชา

ชาที่มีบอดี้ คือ ชา ที่มีเนื้อ คำว่ามีเนื้อนี้หมายความว่าเวลาดื่มน้ำชาเข้าไปแล้วจะสัมผัสได้ถึงความแน่นและความหนัก ในความเป็นจริงชาที่มีบอดี้ดีมากๆ เมื่อริมฝีปากได้สัมผัสกับน้ำชาครั้งแรกแล้วก็จะสัมผัสได้ถึงบอดี้ทันที เพราะน้ำมีความหนืด มีตัวตนที่รู้สึกได้ ไม่เบาหวิวเหมือนน้ำเปล่า บอดี้ของชาจะสัมผัสได้ดีที่สุดเมื่อน้ำชามีอุณหภูมิอยู่ที่ราว 50 องศาเซลเซียส

อ่านต่อ

ข้อแตกต่างของ ชาเขียว กับชาประเภทอื่นๆ

ชาเขียวคือหนึ่งในชายอดนิยมที่มีผู้ดื่มทั่วโลก โดยยอดปริมาณการบริโภคชาเขียวในแต่ละปีบนโลกของเรา อยู่ที่ราว 600,000 ตัน มีประเทศจีนเป็นอันดับหนึ่ง โดยปริมาณการบริโภคชาเขียวในประเทศจีนนั้นคิดเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณที่บริโภคกันทั้งโลก ตามด้วยญี่ปุ่น บริโภคชาเขียวปีละ 80,000 ตัน (World Green Tea Association, 2022) ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราก็สามารถผลิตชาเขียวเองได้

อ่านต่อ

ชา ที่ดีต้องมีสามอย่าง

สองอาทิตย์ก่อนที่ได้ไปเจอเถ้าแก่โรงงานชาแห่งดอยฝูโซ่วซาน ความสูง 2,500 เมตร เป็นที่ที่ผลิตชาที่มีรสชาติละเมียดละไมที่สุดในไต้หวัน แกสอนไว้ว่า เวลาดื่มชา ชาที่ดีต้องมีสามอย่าง คือ “โหย่วผี โหย่วโร่ว โหยวกู่ 有皮,有肉,有骨” แปลเป็นไทยได้ว่า “มีผิว มีเนื้อ มีกระดูก”

อ่านต่อ

ฉะเซ็น 御茶筌 Chasen แปรงชงมัทฉะ กับสุนทรียศาสตร์แห่งการชง

มีคำถามและข้อสงสัยในหมู่นักดื่มมัทฉะชาวไทยมากมายว่า ถ้าจะซื้อฉะเซ็น รุ่นไหนตีขึ้นฟองได้ดีที่สุด? หรือ รุ่นไหนจับถนัดมือและตีได้ง่ายที่สุด? หรือ ทำไมฉะเซ็นจึงมีหลากหลายรูปทรงแตกต่างกัน? เนื่องจากเดือนที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาถามหาฉะเซ็นญี่ปุ่นหลายท่าน จึงขอรวบรวมข้อมูลเท่าที่รู้ จากหนังสือเกี่ยวกับฉะเซ็นภาษาญี่ปุ่น บวกกับความรู้ที่ได้จากช่างฝีมือทำฉะเซ็นสองท่าน คือคุนคุโบะ ซะบุน กับคุณทะนิมุระ ทันโกะ ให้ผู้อ่านทุกท่านไว้ใช้พิจารณา

อ่านต่อ