UJI MATCHA Yamato มัทฉะ เกรดสูงจากเมืองอุจิ เกียวโต รุ่น “ยามาโตะ”
การชง ” มัทฉะ ” แบบดั้งเดิม มี 2 แบบ คือ…
” มัทฉะแบบอ่อน ” (薄茶: Usu-cha)
จะชงโดยใช้มัทฉะ 2 กรัม ต่อน้ำ 60 มิลลิลิตร สำหรับเสิร์ฟ 1 คน โดยดื่ม 1 คนต่อ 1 ถ้วย ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกการชงมัทฉะแบบนี้ว่าการ “ตี” (点てる) เพราะต้องใช้ฉะเซ็นตีชาให้ขึ้นฟอง
” มัทฉะแบบเข้ม ” (濃茶: Koi-cha)
จะใช้มัทฉะประมาณ 4 กรัม ต่อน้ำ 30 มิลลิลิตร สำหรับเสิร์ฟ 1 คน โดยปกติจะชงสำหรับให้คน 3-5 คนดื่มจากถ้วยใบเดียวกัน ส่งต่อไปเป็นทอดๆ โดยต้องใช้ผ้าขาวบางสะอาดที่เตรียมไว้เช็ดทำความสะอาดจุดที่ตัวเองดื่มก่อนส่งให้คนต่อไป การชงมัทฉะแบบนี้เรียกว่าการ “นวด” (練る) เพราะต้องใช้ฉะเซ็นค่อยๆนวดเนื้อชาให้เข้ากับน้ำ ซึ่งจะมีความเหนียวพอสมควร เนื่องจากเนื้อชาเข้มข้นมาก
ในสมัยก่อน ตอนที่พิธีชงชาเริ่มแพร่หลาย คนญี่ปุ่นดื่มมัทฉะแบบ “เข้ม” ครับ แต่เนื่องจากมีความเข้มข้นมาก มัทฉะที่ใช้จึงต้องเป็นมัทฉะคุณภาพดีเท่านั้น ถ้าใช้มัทฉะแบบอ่อนมาชงจะขมปี๋ ดื่มแทบไม่ได้ ราคามัทฉะประเภทนี้อยู่ที่ประมาณ 2000-8000 เยน ต่อ ผงมัทฉะ 20 กรัม ในขณะที่มัทฉะแบบอ่อน จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 500 เยนขึ้นไป ถือว่าแพงกว่ากันหลายเท่าตัว
การชง ” มัทฉะ ” แบบทั่วไป
ลาเต้
ชงดื่มแบบเพียวๆ
ทำไมต้องใช้ฉะเซ็นตีมัทฉะ?!
เพราะว่ามัทฉะ คือผงชาที่บดมาจากใบชา ไม่เหมือนสารละลายที่นำไปผ่านกระบวนการอบให้เป็นผงพร้อมชงอย่างโอวัลตินหรือน้ำตาลทราย มัทฉะจึง “#ไม่มีคุณสมบัติละลายน้ำ” หากนำมาผสมน้ำก็จะกลายเป็นตะกอน การดื่มมัทฉะจึงต้องทำให้อนุภาคของมัทฉะ “#แขวนลอย” อยู่ในน้ำ โดยฉะเซ็นถูกประดิษฐ์ขึ้นมาก็เพื่อจุดประสงค์นี้นี่เอง
อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติคล้ายฉะเซ็นคือตะกร้อตีไข่ที่ใช้ทำขนม แต่มีข้อเสียคือตีมัทฉะออกมาแล้วฟองจะใหญ่ไม่ละเอียด ทำให้มัทฉะดูไม่น่ารับประทาน
ข้อควรระวังการใช้ช้อนไม้ไผ่
ฉะชะขุ หรือช้อนไม้ไผ่ มีข้อห้ามที่สำคัญข้อหนึ่ง คือ หลังจากใช้ตักมัทฉะแล้ว “ห้ามล้าง” หรือ “ห้ามโดนน้ำ” เด็ดขาด!!!!
สาเหตุก็เป็นเพราะว่า ฉะชะขุ คืออุปกรณ์ที่สัมผัสกับมัทฉะโดยตรง หากนำไปล้าง ฉะชะขุจะมีความชื้น เวลานำไปตักมัทฉะ ความชื้นก็จะวิ่งไปหามัทฉะที่อยู่ในภาชนะเก็บ ทำให้มัทฉะจับตัวกันเป็นก้อน อีกทั้งการล้างฉะชะขุบ่อยๆ จะทำให้ไม้ไผ่เสียทรง และเก่าเร็วขึ้น
ส่วนวิธีที่ถูกต้อง ในการทำความสะอาดฉะชะขุหลังจากใช้ตักมัทฉะเสร็จแล้ว ก็คือการใช้กระดาษทิชชู่แห้งๆ ค่อยๆเช็ดผงมัทฉะออก แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ