ต้นชา : Camellia sinensis
ต้นชาคือพืชที่อยู่ในสกุลคาเมลเลีย (Camellia) วงศ์ชา (Theaceae อ่านว่า ธีเอซี) ต้นชาก็เหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ คือมีหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆได้อย่างมากมาย
ต้นชาคือพืชที่อยู่ในสกุลคาเมลเลีย (Camellia) วงศ์ชา (Theaceae อ่านว่า ธีเอซี) ต้นชาก็เหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ คือมีหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆได้อย่างมากมาย
การทำ ชาเขียว ซะกุระเซนฉะนั้น เบสชาไม่ใช่ปัญหาครับ กลิ่นก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะทางญี่ปุ่นมีบริษัทรับผลิตให้ได้ แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นคือจะเอากลีบซะกุระอบแห้งมาจากไหน ปัญหานี้ใหญ่มาก จนถึงกับว่าแบรนด์ชาเบลนด์ของฝรั่งที่ทำซะกุระเซนฉะ ต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้กลีบกุหลาบผสมลงไปเพื่อสร้างสุนทรียภาพ(มโน)ให้เกิดอารมณ์ว่ากำลังดื่มซะกุระเซนฉะอยู่
การผลิตเทนฉะที่เกียวโต ที่จะใช้วิธีแบบดั้งเดิม (ซึ่งพื้นที่อื่นนอกจากเกียวโตไม่ได้เลียนแบบ เพราะแต่ละท้องถิ่นก็จะมี pride ของตนเอง) คือการก่อเตาอบเทนฉะด้วยอิฐ เตาแบบนี้จะถูกสร้างติดพื้นดิน เวลาต้องการทำให้ใบชาแห้ง ก็ต้องใส่ใบชาเข้าไปในเตานี้ ปัจจุบันมีการสร้างสายพานเพื่อความสะดวก คนเกียวโตบอกว่า มัทฉะจากเกียวโตต่างจากที่อื่น เพราะใบชาที่อบในเตาอิฐมีกลิ่นหอมกว่า
ชาเขียวเซนฉะ เป็นชาสายพันธุ์เดี่ยว Single Origin จากไร่ชาที่จังหวัดชิซึโอะกะ สายพันธุ์ยะบุขิตะ ฤดูใบไม้ผลิ (อิจิบันฉะ 一番茶) นำมาทำเป็นเซนฉะ แบบอะสะมุชิ 浅蒸し คือการนึ่งไอน้ำระยะสั้น
“ยาบุคิตะ” (やぶきた, Yabukita)
คืนนี้นั่งอ่านงานวิจัยไปหลายชั่วโมง เพราะรู้สึกว่าข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกชาที่ได้รับจากเกษตรกร เมื่อเทียบกับความเป็นจริงบางอย่างมันไม่สอดคล้องกัน จึงต้องหาข้อมูลที่สามารถวัดผลได้ด้วยวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน พบว่าในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการทำวิจัยเกี่ยวกับต้นชาอยู่อย่างมหาศาล ในหลายๆประเทศที่ทำการปลูกชา โดยเฉพาะญี่ปุ่น มีงานวิจัยเกี่ยวกับชาอย่างมหาศาล นับตั้งแต่สงครามโลกเป็นต้นมา
เหยียนฉา คือชื่อเรียกของชาอู่หลงประเภทหนึ่งที่ผลิตกันในเขตอู่อี๋ซาน มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ในบางครั้งอาจเรียกกันว่า อู่อี๋เหยียนฉา 武夷岩茶 ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Wuyi Rock Teas โดยเขตอู่อี๋ซานนั้นเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีความสวยงาม อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดชาดีๆของโลกมากมาย
คือพันธุ์ชาจากไต้หวันครับ ไทยได้นำมาปลูกกันหลายสิบปีแล้ว ข้อดีของชาพันธุ์นี้คือปลูกบนที่ราบได้ ให้ผลผลิตดี ชอบแดด ชอบน้ำ ใบชาสดสามารถนำไปทำชาได้หลากหลาย ทั้งชาขาว ชาเขียว ชาอู่หลง ชาดำ
ตงฟางเหม่ยเหริน หรือ ไป๋หาวอู่หลง เป็นชาที่มีหลายชื่อครับ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ไต้หวัน ถือกำเนิดมาเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน คือราวปลายศตวรรษที่ 19 เกิดจากการต้องการแปรรูปยอดชาที่ถูกเพลี๊ยจั๊กจั่นดูดกินน้ำเลี้ยง ยอดชาจึงหงิกงอ กระดำกระด่าง แลดูแล้วไม่สวย หากทว่ายอดชาที่ถูกเพลี๊ยดูดกินน้ำเลี้ยงนั้นมีกลิ่นหอม เมื่อนำมาทำชาแล้วเกิดกลิ่นผสมผสานกันระหว่างกลิ่นน้ำผึ้ง และกลิ่นหอมของผลไม้ โดยกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์นี่เองที่ทำให้ชาตัวนี้โด่งดังขึ้นมา
นับตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ชาถูกนำเข้ามาปลูกในญี่ปุ่น คือช่วงก่อน ค.ศ. 1000 มาจนถึงทศวรรษ 1950 ต้นชาในญี่ปุ่นถูกปลูกด้วยการเพาะเมล็ดทั้งสิ้น ทว่าหลังจากมีการค้นพบพันธุ์ยะบุขิตะ ว่าให้ผลผลิตที่มีรสชาติดี (เหมาะสำหรับทำเซนฉะ) ต้นยะบุขิตะต้นแม่ ก็ถูกโคลนนิ่ง โดยวิธีการปักชำ จนต้นชาที่เกิดจากการปักชำจากต้นชาต้นแม่เพียงต้นเดียว ครอบคลุมพื้นที่ปลูกชากว่า 80% ของพื้นที่ทั้งหมด