ช้อนไม้ไผ่ “ฉะชะขุ”…สัญลักษณ์ของความเรียบง่าย

สีเข้ม ทำจากไผ่สึสึดาเกะ (煤竹)
“ฉะชะขุ” (茶杓: Chashaku) คือ ช้อนตักชา ทำจากไม้ไผ่ ใช้สำหรับตักผงชาเขียว “มัทฉะ” ในพิธีซะโดหรือพิธีชงชาญี่ปุ่น
เอกลักษณ์ของ “ฉะชะขุ” คือความเรียบง่าย สังเกตได้จากรูปทรงที่ทำจากไม้ไผ่ที่มีความเรียว ยาว มีส่วนปลายด้านหนึ่งโค้งงอเข้ามา ทำหน้าที่เป็นช้อน ฉะชะขุเองก็เหมือนกับฉะเซ็น หรือแปรงตีชา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนานิกายเซน อันเป็นแนวคิดที่ทรงอิทธิพลต่อศิลปะญี่ปุ่นเกือบทั้งมวล
การประดิษฐ์ฉะชะขุขึ้นมาหนึ่งอัน ต้องใช้ความชำนาญและความพิถีพิถันเช่นเดียวกันกับฉะเซ็น คือพื้นที่และองศาการงอของปลายช้อน จะต้องพอดีเมื่อช้อนปลายช้อนเข้าไปในกระปุกชา แล้วตักผงชามัทฉะออกมา น้ำหนักของมัทฉะที่ได้ต่อการตักหนึ่งครั้งแบบช้อนพูน จะต้องมีน้ำหนักประมาณ 1 กรัมพอดี เพราะการชงมัทฉะในพิธีชงชาญี่ปุ่นนั้น จะมีกำหนดไว้แน่นอนว่าการชงชาแบบเข้ม(濃茶) หรือแบบอ่อน(薄茶) นั้น จะต้องใช้ผงมัทฉะกี่ช้อน โดยผู้ที่ชงชาแบบญี่ปุ่นเป็นนั้น ก็จะมีฉะชะขุประจำตัวติดตัวไว้อย่างน้อยคนละหนึ่งอัน
ข้อห้ามสำหรับ ช้อนไม้ไผ่

ทำความสะอาดโดยการเช็ด
ฉะชะขุ หรือช้อนไม้ไผ่ มีข้อห้ามที่สำคัญข้อหนึ่ง คือ หลังจากใช้ตักมัทฉะแล้ว “ห้ามล้าง” หรือ “ห้ามโดนน้ำ” เด็ดขาด!!!!
สาเหตุก็เป็นเพราะว่า ฉะชะขุ คืออุปกรณ์ที่สัมผัสกับมัทฉะโดยตรง หากนำไปล้าง ฉะชะขุจะมีความชื้น เวลานำไปตักมัทฉะ ความชื้นก็จะวิ่งไปหามัทฉะที่อยู่ในภาชนะเก็บ ทำให้มัทฉะจับตัวกันเป็นก้อน อีกทั้งการล้างฉะชะขุบ่อยๆ จะทำให้ไม้ไผ่เสียทรง และเก่าเร็วขึ้น
ส่วนวิธีที่ถูกต้อง ในการทำความสะอาดฉะชะขุหลังจากใช้ตักมัทฉะเสร็จแล้ว ก็คือการใช้กระดาษทิชชู่แห้งๆ ค่อยๆเช็ดผงมัทฉะออก แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ
ช้อนที่ทำจาก ไผ่สึสึดาเกะ (煤竹)

ไผ่สึสึดาเกะ (煤竹)
ในสมัยก่อน บ้านญี่ปุ่นจะเป็นบ้านแบบหล
และตรงนี้แหละครับ ที่ขี้เถ้าจากอิโนริ จะลอยขึ้นไปเกาะกับไม้ไผ่ที
เวลารื้อถอนบ้าน ไม้แทบทุกส่วน คนญี่ปุ่นจะเก็บไว้นำไปรีไซ
เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของไ
ชื่อมงคลที่คนญี่ปุ่นนิยมนำ มาตั้งเป็นชื่อ “ฉะชะขุ”
・徒然(สึเระซึเระ) แปลว่า “ว่างวาย”
・和やか(นาโกยะกะ) แปลว่า “อบอุ่น”
・聖(ฮิจิริ) แปลว่า “ศักดิ์สิทธิ์”
・無事(บุจิ) แปลว่า “นิรันดร์”
・平安(เฮอัน) แปลว่า “ปลอดภัยยั่งยืน”
・無一(มุอิจิ) แปลว่า “ไม่มีตัวตน”
・無心(มุชิน) แปลว่า “ใจสงบ”
・山里(ยามะซะโตะ) แปลว่า “บ้านพักกลางเขา”
・夢(ยูเมะ) แปลว่า “ฝัน”
・喜び(โยโรโคบิ) แปลว่า “ชื่นมื่น”
・和(หวะ) แปลว่า “สงบ”
・若人(หวะโคโดะ) แปลว่า “เยาว์วัย”
・相生 (ไอโออิ) แปลว่า “แก่ไปด้วยกัน”
・和楽(หวะระขุ) แปลว่า “ร่วมสุข”
