วิธีเก็บรักษาอู่หลงอบไฟ

ชาเก่าๆความหอมในโทนดอกไม้มันจะเริ่มหาย รสผลไม้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นรสบ๊วย คือมีความเปรี้ยวแบบบ๊วยผสานกับกลิ่นหวานๆของน้ำตาลที่ไหม้ไฟ ในส่วนของความแรงของไฟก็จะค่อยๆหายไปจนสัมผัสไม่ได้ เหลือแต่กลิ่นควันจางๆ รสก็จะกลมๆ คือมีความทุ้มลึก แต่ไม่แหลม ถ้าใครชอบชาเก่า พอเปิดชาอู่หลงอบไฟพวกนี้ก็ปล่อยมันไว้ในกระปุกหรือซองเลย แต่ถ้าใครไม่ชอบให้มันเก่า พอเปิดทิ้งไว้ให้มันถอนไฟ ได้สัก 6 เดือนหรือหนึ่งปี

อ่านต่อ

Premium Matcha มัทฉะ เกรดพิธีชงชา

ทุกวันนี้ ชาที่ผลิตในญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ถูกผลิตขึ้นโดยเครื่องจักร automatic ทั้งสิ้น โดยผู้ผลิตเครื่องจักรเหล่านี้ก็มีเพียงไม่กี่เจ้า จึงอาจเรียกได้ว่า รสชาติของชา อาจไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ถ้าจะทำให้แตกต่าง ก็ต้องมาเล่นเรื่องสายพันธุ์ หรือวิธีการเก็บ การดูแลรักษาต้นชา เพราะถ้าหากนำใส่เครื่องจักรไปแล้ว กรรมวิธีที่เหลือก็ไม่ค่อยจะต่างกัน

อ่านต่อ

อัศจรรย์แห่งการหมัก ชาไต้หวัน – Taiwanese Tea

กลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของเถี่ยกวนอินที่หลงเหลืออยู่ในปากและในลำคอ แม้จะกลืนน้ำชาลงไปแล้วก็ยังไม่หาย คล้ายกับเวลาดื่มเหยียนฉาจากอู่อี๋ซาน ซึ่งความรู้สึกจากเหยียนฉานั้นจะเรียกกันว่า เหยียนยุ่น 岩韻

อ่านต่อ

ชา – รสชาติแบบต้นตำรับ หรือรสตามแบบสมัยนิยม?

มีเถ้าแก่ร้านชาร้านหนึ่งสอนผมไว้ว่า ควรจะรู้จักดื่มชาที่ผลิตออกมาตามสูตรต้นตำรับเข้าไว้ เพราะถ้าในอนาคตเราดื่มชาที่มาจากหลากหลายผู้ผลิต และหลากหลายแหล่งปลูก รสชาติต้นตำรับจะคอยเปรียบเสมือนกับไม้บรรทัด โดยทำหน้าที่เป็น reference ที่เราสามารถนำมาอ้างอิงได้ เวลาจะให้ความเห็นเกี่ยวกับรสชาติของชาตัวใดๆ

อ่านต่อ

ฝูเจี้ยน ถิ่นกำเนิด ” เถี่ยกวนอิน กับ ฝูติ่งต้าไป๋ “

ชาวจีนในฝูเจี้ยนประสบความสำเร็จในการปักชำต้นชา เป็นการขยายพันธุ์ต้นชาให้มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกันหมดทั้งแปลง โดยในปี ค.ศ. 1857 ก็ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์ต้นชาโดยใช้วิธีปักชำเป็นผลสำเร็จจำนวนสองสายพันธุ์ คือ เถี่ยกวนอิน 鐵觀音 กับ ฝูติ่งต้าไป๋ 福鼎大白

อ่านต่อ

ชาอู่หลง ต้งติ่งจากไต้หวัน 凍頂烏龍茶

ชาอู่หลง ต้งติ่ง ถือว่าเป็นชาที่มีชื่อเสียงโด่งดังอีกตัวหนึ่งของไต้หวัน จัดอยู่ในประเภทของชาอู่หลง เป็นชาที่ผ่านการหมักนาน อบไฟแรง รสชาติและกลิ่นของชาจะอยู่ในโทนของถั่ว ผลไม้สุก บ๊วย น้ำตาลไหม้ อีกทั้งยังมีกลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์ของชาที่ผ่านการอบไฟแรง เป็นชาที่มีอายุการเก็บได้ยาวนาน สามารถเก็บได้เรื่อยๆ เป็นชาอีกตัวที่เหมาะสำหรับนำมาทำชาเก่า (老茶)

อ่านต่อ

ชาอู่หลง : Oolong Tea

ชาอู่หลง แบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทใหญ่ๆ ตามแหล่งกำเนิด ภาษาจีนเรียกว่า ซื่อต้าอู่หลง 四大烏龍 ได้แก่ กว่างตงอู่หลง หมินหนานอู่หลง หมินเป่ยอู่หลง และ ไถวันอู่หลง

อ่านต่อ

ต้นชา : Camellia sinensis

ต้นชาคือพืชที่อยู่ในสกุลคาเมลเลีย (Camellia) วงศ์ชา (Theaceae อ่านว่า ธีเอซี) ต้นชาก็เหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ คือมีหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆได้อย่างมากมาย

อ่านต่อ

Sparkling Iced Tea

ช่วงปีก่อนเพื่อนไต้หวันพาไปทัวร์ร้านชาหลายร้าน เจอเมนู Sparkling Iced Tea ในร้านชาบางร้าน คือเขาเอาชาไต้หวันเนี่ยมาทำการ cold brew ในน้ำโซดา แล้วปรุงรสต่างๆลงไป ก็พบว่ารสชาติมันออกมาค่อนข้างดีเลยทีเดียว คือได้คาแรกเตอร์ของชา บวกความหวาน ความซ่า และความเย็นเข้าไป จึงกลายเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับดื่มในเวลาอากาศร้อนๆเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ