Skip to content
เมืองจีน ถือว่าฉาชี่ ก่อให้เกิดอาการต่างๆในร่างกายคนแตกต่างกันไป หมายความว่า ถึงจะเป็นชาตัวเดียวกัน แต่หากต่างคนดื่ม แต่ละคนก็จะมีอาการแตกต่างกันออกไป หรือถึงเป็นคนเดียวกัน แต่ถ้าหากดื่มในต่างเวลา ต่างสถานที่ ต่างสภาพแวดล้อม ก็จะก่อให้เกิดอาการที่แตกต่างกัน
อ่านต่อ
ชาคริสต์มาส สำหรับเทศกาลปีใหม่นี้ มีให้เปิดจองและพร้อมจัดส่งแล้วนะครับ ชาคริสต์มาสปีนี้มีมาทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกันครับ
อ่านต่อ
ชาเก่าๆความหอมในโทนดอกไม้มันจะเริ่มหาย รสผลไม้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นรสบ๊วย คือมีความเปรี้ยวแบบบ๊วยผสานกับกลิ่นหวานๆของน้ำตาลที่ไหม้ไฟ ในส่วนของความแรงของไฟก็จะค่อยๆหายไปจนสัมผัสไม่ได้ เหลือแต่กลิ่นควันจางๆ รสก็จะกลมๆ คือมีความทุ้มลึก แต่ไม่แหลม ถ้าใครชอบชาเก่า พอเปิดชาอู่หลงอบไฟพวกนี้ก็ปล่อยมันไว้ในกระปุกหรือซองเลย แต่ถ้าใครไม่ชอบให้มันเก่า พอเปิดทิ้งไว้ให้มันถอนไฟ ได้สัก 6 เดือนหรือหนึ่งปี
อ่านต่อ
ปกติชา ตงฟางเหม่ยเหริน จะทำ 2 ฤดูครับ คือฤดูร้อนกับฤดูหนาว สำหรับชาตงฟางเหม่ยเหริน ชาฤดูร้อนจะทำออกมาได้รสชาติดีกว่า สาเหตุเป็นเพราะว่าในฤดูร้อนนั้นมีแมลงมาก โอกาสที่ยอดชาจะถูกแมลงกัดก็มีมากกว่า ยอดชาแบบนี้ พอนำมาหมักแล้วจะให้รสและกลิ่นในโทนของน้ำผึ้งกับผลไม้สุกที่มากกว่า
อ่านต่อ
ทุกวันนี้ ชาที่ผลิตในญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ถูกผลิตขึ้นโดยเครื่องจักร automatic ทั้งสิ้น โดยผู้ผลิตเครื่องจักรเหล่านี้ก็มีเพียงไม่กี่เจ้า จึงอาจเรียกได้ว่า รสชาติของชา อาจไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ถ้าจะทำให้แตกต่าง ก็ต้องมาเล่นเรื่องสายพันธุ์ หรือวิธีการเก็บ การดูแลรักษาต้นชา เพราะถ้าหากนำใส่เครื่องจักรไปแล้ว กรรมวิธีที่เหลือก็ไม่ค่อยจะต่างกัน
อ่านต่อ
กลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของเถี่ยกวนอินที่หลงเหลืออยู่ในปากและในลำคอ แม้จะกลืนน้ำชาลงไปแล้วก็ยังไม่หาย คล้ายกับเวลาดื่มเหยียนฉาจากอู่อี๋ซาน ซึ่งความรู้สึกจากเหยียนฉานั้นจะเรียกกันว่า เหยียนยุ่น 岩韻
อ่านต่อ
ถ้วยชา ในรูป คือถ้วยชาที่มีชื่อว่า “ฟุจิยะมะ” เป็นผลงานของศิลปินนาม ฮงอะมิ โคเอ็ตสึ (本阿弥光悦) มีชีวิตอยู่ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1558-1637 ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น (国宝: National Treasures มรดกที่หลายกระทรวงในรัฐบาลญี่ปุ่นเห็นพ้องต้องกันว่ามีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของชาติ)
อ่านต่อ
มีเถ้าแก่ร้านชาร้านหนึ่งสอนผมไว้ว่า ควรจะรู้จักดื่มชาที่ผลิตออกมาตามสูตรต้นตำรับเข้าไว้ เพราะถ้าในอนาคตเราดื่มชาที่มาจากหลากหลายผู้ผลิต และหลากหลายแหล่งปลูก รสชาติต้นตำรับจะคอยเปรียบเสมือนกับไม้บรรทัด โดยทำหน้าที่เป็น reference ที่เราสามารถนำมาอ้างอิงได้ เวลาจะให้ความเห็นเกี่ยวกับรสชาติของชาตัวใดๆ
อ่านต่อ
ชาเก่า ในภาษาจีนเรียกว่า เหล่าฉา 老茶 แปลตรงตัวได้ว่า ชาเก่า ตามหลักแล้ว ชาที่จะเรียกว่าชาเก่าได้ จะต้องมีอายุ 5 ปีขึ้นไป ถึงจะเรียกว่าชาเก่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชาเก่าที่มีขายอยู่ในตลาด ก็มีทุกรูปแบบ อาจจะ 5 ปี 10 ปี 20 ปี 30 ปี 40 ปี
อ่านต่อ
Go to Top
error: Content is protected !!