ครกหินญี่ปุ่น

“อิชิอุสุ” (石臼: Ishi-usu) คือ “ครกหินญี่ปุ่น” มีลักษณะเป็นหินทรงกระบอกสองชิ้น วางทับกัน โดยมีที่จับสำหรับหมุนที่หินด้านบน ใช้สำหรับบดอาหารจำพวกเมล็ดข้าว ธัญพืช และใบชา

อ่านต่อ

จากใบชาพันธุ์อาซาฮี (朝日) สู่ผงมัทฉะ เดือน 11

บชาพันธุ์อาซาฮี 朝日 ของอุจิ ที่ผ่านการพรางแสง 30 วัน ตัวนี้คือหลังจากขั้นตอนนึ่งไอน้ำและคัดก้านออก ใบชาจะถูกนำไปอบแห้งโดยไม่ผ่านการนวด ที่เกียวโตจะใช้เตาอิฐในการอบ เขาบอกว่ากลิ่นจะหอมกว่าอบด้วยวิธีอื่น

อ่านต่อ

ชาพันธุ์พื้นเมืองของไทย

อัสสัมพันธุ์ใบเล็กครับ เป็นชาพันธุ์พื้นเมืองของไทย รหัสพันธุกรรมไทย ที่ถึงแม้จะเป็นใบที่เจริญเติบโตเต็มที่ ก็มีใบเล็กไม่ต่างจากใบชาสายพันธุ์จีน อัสสัมแบบนี้มีกระจายอยู่ทั่วไปในเชียงใหม่ ลำปาง น่าน และเชียงราย แต่บางดอยอาจจะมีต้นชาแบบนี้มากกว่าดอยอื่น

อ่านต่อ

Single Origin จากไร่ชาบนเกาะคิวชู

ชาที่อยู่ในรูปคือ ทะมะเรียวขุฉะ 玉緑茶 เป็นชาเขียวประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น (ชาญี่ปุ่นไม่ได้มีเฉพาะเซนฉะกับมัทฉะนะครับ 555) เป็นชาที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน กรรมวิธีเก่าแก่กว่าเซนฉะ เพราะเป็นชาเขียวที่หยุดการ oxidation โดยการคั่วใบชาบนกระทะ จากนั้นจึงนำไปนวดแล้วทำให้แห้ง

อ่านต่อ

ความเป็นมาของเซนฉะ お煎茶の由来

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่าการดื่มชาในญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นอย่างมาก กล่าวคือหากไม่ดื่มชาในรูปแบบของผงละเอียดที่นำไปต้มหรือแช่ในน้ำร้อน ก็เป็นการดื่มชาหมักในรูปแบบของชาอัดก้อน การดื่มชาในรูปแบบผงนี่เองที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นต้นกำเนิดของมัทฉะ ทว่ารสชาติของชาผงในอดีตคงจะอร่อยน้อยกว่ามัทฉะในปัจจุบันเป็นแน่

อ่านต่อ

ประสบการณ์แห่งสุนทรียรส

ช่วงสองสามเดือนมานี้ได้ดื่มชาญี่ปุ่นไปหลายสิบตัว ไล่ตั้งแต่ไซตะมะ ชิซึโอะกะ เกียวโต ลงไปใต้สุดที่คะโกะชิมะ ชิมไปสิบกว่าสายพันธุ์ ทั้งแบบ Single Origin (Single Estate/ Single Cultivar ชาจากไร่เดียว สายพันธุ์เดียว ไม่ผ่านการเบลนด์ 単一茶園, 単一品種) ก็ไม่แปลกใจว่าทำไมช่วงหลังมานี้คนในวงการชาเริ่มนิยมชมชอบชาประเภทนี้มากขึ้น

อ่านต่อ

สายพันธุ์ชาในอู่อี๋ซาน

การคัดเลือกสายพันธุ์โดยเลือกเมล็ดจากต้นแม่ที่มีลักษณะดีเช่นนี้ดำเนินมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายร้อยปี ส่งผลให้อู่อี๋ซานเต็มไปด้วยต้นชาหลากหลายสายพันธุ์ โดยแต่ละสายพันธุ์ต่างก็มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันออกไป

อ่านต่อ

FIRE collection เหยียนฉาจากอู่อี๋ซาน

การอบไฟเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของเหยียนฉา อบไฟคือฮงเป้ย (烘焙) หมายถึงการนำใบชาที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งแล้วถึงระดับหนึ่ง ไปผ่านความร้อนอีกหลายรอบโดยอบกับไฟ กระบวนการนี้มีหน้าที่สำคัญคือการพัฒนาคุณภาพทางด้านรสชาติให้กับใบชา

อ่านต่อ