Skip to content
Category Archives: ประวัติศาสตร์ชา
You are here:
- Home
- Category "ประวัติศาสตร์ชา"
การทำ ชาเขียว ซะกุระเซนฉะนั้น เบสชาไม่ใช่ปัญหาครับ กลิ่นก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะทางญี่ปุ่นมีบริษัทรับผลิตให้ได้ แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นคือจะเอากลีบซะกุระอบแห้งมาจากไหน ปัญหานี้ใหญ่มาก จนถึงกับว่าแบรนด์ชาเบลนด์ของฝรั่งที่ทำซะกุระเซนฉะ ต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้กลีบกุหลาบผสมลงไปเพื่อสร้างสุนทรียภาพ(มโน)ให้เกิดอารมณ์ว่ากำลังดื่มซะกุระเซนฉะอยู่
ในไต้หวัน มีกฏเกณฑ์กำหนดว่า ชาที่จะเรียกได้ว่าเกาซานฉา จะต้องปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป มีตั้งแต่อาหลีซาน ลี่ซาน ซานหลินซี โดยพื้นที่ที่สูงที่สุด คือโฝโส่วซาน และต้าหยูหลิ่ง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกชาสูงตั้งแต่ 2,500 เมตร ไปจนถึง 2,700 เมตร เป็นพื้นที่ปลูก ชาอู่หลง ที่สูงที่สุดบนโลกของเรา
ชาเขียวคือหนึ่งในชายอดนิยมที่มีผู้ดื่มทั่วโลก โดยยอดปริมาณการบริโภคชาเขียวในแต่ละปีบนโลกของเรา อยู่ที่ราว 600,000 ตัน มีประเทศจีนเป็นอันดับหนึ่ง โดยปริมาณการบริโภคชาเขียวในประเทศจีนนั้นคิดเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณที่บริโภคกันทั้งโลก ตามด้วยญี่ปุ่น บริโภคชาเขียวปีละ 80,000 ตัน (World Green Tea Association, 2022) ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราก็สามารถผลิตชาเขียวเองได้
คอชาทั้งมือใหม่และมือเก่า ทั้งคนที่หัดเริ่มดื่มชาใหม่ๆและดื่มชามานานแล้ว มักพบปัญหาที่เหมือนๆกันคือ ซื้อชามาแล้วยังดื่มไม่ทันหมดห่อ ก็มีชาตัวใหม่เข้ามาล่อตาล่อใจให้ซื้อมาลองชิมอยู่ได้เสมอ ดังนั้นแล้วพอเวลาผ่านไป คนดื่มชาก็มักจะพบปัญหาประเภทที่ว่า มีห่อชาที่แกะเปิดออกแล้วที่ยังดื่มไม่หมด วางสุมกันอยู่เต็ม
การผลิตเทนฉะที่เกียวโต ที่จะใช้วิธีแบบดั้งเดิม (ซึ่งพื้นที่อื่นนอกจากเกียวโตไม่ได้เลียนแบบ เพราะแต่ละท้องถิ่นก็จะมี pride ของตนเอง) คือการก่อเตาอบเทนฉะด้วยอิฐ เตาแบบนี้จะถูกสร้างติดพื้นดิน เวลาต้องการทำให้ใบชาแห้ง ก็ต้องใส่ใบชาเข้าไปในเตานี้ ปัจจุบันมีการสร้างสายพานเพื่อความสะดวก คนเกียวโตบอกว่า มัทฉะจากเกียวโตต่างจากที่อื่น เพราะใบชาที่อบในเตาอิฐมีกลิ่นหอมกว่า
สองอาทิตย์ก่อนที่ได้ไปเจอเถ้าแก่โรงงานชาแห่งดอยฝูโซ่วซาน ความสูง 2,500 เมตร เป็นที่ที่ผลิตชาที่มีรสชาติละเมียดละไมที่สุดในไต้หวัน แกสอนไว้ว่า เวลาดื่มชา ชาที่ดีต้องมีสามอย่าง คือ “โหย่วผี โหย่วโร่ว โหยวกู่ 有皮,有肉,有骨” แปลเป็นไทยได้ว่า “มีผิว มีเนื้อ มีกระดูก”
ความรู้สำหรับการเก็บรักษาใบชา เป็นหนึ่งในความรู้พื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักชงชามือเก่าและมือใหม่ มีหลายครั้งที่เราซื้อชามามากเกินไปและดื่มไม่หมดภายในช่วงเวลาที่เคยคิดไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอทั้งคนที่เพิ่งเริ่มดื่มชา หรือดื่มมานานแล้ว
การค้นพบใหม่ๆมักมีสาเหตุมาจากลักษณะนิสัยของการเป็นคนช่างสังเกต ในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868-1912) มีชายหนุ่มชาวญี่ปุ่นผู้หนึ่งได้รับสมญานามเชิงดูถูกแกมขบขันจากเพื่อนบ้านว่า อิตะจิ ที่แปลว่า เพียงพอน โดยชื่อนี้มีที่มาสืบเนื่องมาจากกิริยาที่ชอบเข้าไปด้อมๆมองๆ ศีรษะผลุบๆโผล่ๆอยู่ตามสวนชาของชาวบ้าน ไม่ต่างจากตัวเพียงพอน ที่มักจะเข้ามาเพ่นพ่านอยู่ในสวนชานั่นเอง
ชาแดง หรือ ชาดำ คือคำที่ใช้เรียกชาที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ กระบวนการออกซิเดชั่น คือปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างสารสำคัญ (สารอาหารต่างๆ) ในใบชากับออกซิเจนในอากาศ เกิดขึ้นหลังจากการนวดใบชา มีผลทำให้รสชาติของชามีมิติที่ลึกและกว้างมากขึ้น เป็นรสชาติที่หาไม่ได้จากชาประเภทอื่นๆ
ชาที่เบลนด์แบบไม่ใช้กลิ่นเพื่อสื่อถึงอุดมคติแห่งตะวันออก The Ideals of the East ถูกเบลนด์ขึ้นจากชาเขียวจากทั้งหมดสามประเทศ
Go to Top
error: Content is protected !!