Skip to content
ทุกวันนี้ ชาที่ผลิตในญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ถูกผลิตขึ้นโดยเครื่องจักร automatic ทั้งสิ้น โดยผู้ผลิตเครื่องจักรเหล่านี้ก็มีเพียงไม่กี่เจ้า จึงอาจเรียกได้ว่า รสชาติของชา อาจไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ถ้าจะทำให้แตกต่าง ก็ต้องมาเล่นเรื่องสายพันธุ์ หรือวิธีการเก็บ การดูแลรักษาต้นชา เพราะถ้าหากนำใส่เครื่องจักรไปแล้ว กรรมวิธีที่เหลือก็ไม่ค่อยจะต่างกัน
อ่านต่อ
กลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของเถี่ยกวนอินที่หลงเหลืออยู่ในปากและในลำคอ แม้จะกลืนน้ำชาลงไปแล้วก็ยังไม่หาย คล้ายกับเวลาดื่มเหยียนฉาจากอู่อี๋ซาน ซึ่งความรู้สึกจากเหยียนฉานั้นจะเรียกกันว่า เหยียนยุ่น 岩韻
อ่านต่อ
ถ้วยชา ในรูป คือถ้วยชาที่มีชื่อว่า “ฟุจิยะมะ” เป็นผลงานของศิลปินนาม ฮงอะมิ โคเอ็ตสึ (本阿弥光悦) มีชีวิตอยู่ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1558-1637 ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น (国宝: National Treasures มรดกที่หลายกระทรวงในรัฐบาลญี่ปุ่นเห็นพ้องต้องกันว่ามีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของชาติ)
อ่านต่อ
มีเถ้าแก่ร้านชาร้านหนึ่งสอนผมไว้ว่า ควรจะรู้จักดื่มชาที่ผลิตออกมาตามสูตรต้นตำรับเข้าไว้ เพราะถ้าในอนาคตเราดื่มชาที่มาจากหลากหลายผู้ผลิต และหลากหลายแหล่งปลูก รสชาติต้นตำรับจะคอยเปรียบเสมือนกับไม้บรรทัด โดยทำหน้าที่เป็น reference ที่เราสามารถนำมาอ้างอิงได้ เวลาจะให้ความเห็นเกี่ยวกับรสชาติของชาตัวใดๆ
อ่านต่อ
ชาเก่า ในภาษาจีนเรียกว่า เหล่าฉา 老茶 แปลตรงตัวได้ว่า ชาเก่า ตามหลักแล้ว ชาที่จะเรียกว่าชาเก่าได้ จะต้องมีอายุ 5 ปีขึ้นไป ถึงจะเรียกว่าชาเก่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชาเก่าที่มีขายอยู่ในตลาด ก็มีทุกรูปแบบ อาจจะ 5 ปี 10 ปี 20 ปี 30 ปี 40 ปี
อ่านต่อ
ชาวจีนในฝูเจี้ยนประสบความสำเร็จในการปักชำต้นชา เป็นการขยายพันธุ์ต้นชาให้มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกันหมดทั้งแปลง โดยในปี ค.ศ. 1857 ก็ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์ต้นชาโดยใช้วิธีปักชำเป็นผลสำเร็จจำนวนสองสายพันธุ์ คือ เถี่ยกวนอิน 鐵觀音 กับ ฝูติ่งต้าไป๋ 福鼎大白
อ่านต่อ
ชาอู่หลง ต้งติ่ง ถือว่าเป็นชาที่มีชื่อเสียงโด่งดังอีกตัวหนึ่งของไต้หวัน จัดอยู่ในประเภทของชาอู่หลง เป็นชาที่ผ่านการหมักนาน อบไฟแรง รสชาติและกลิ่นของชาจะอยู่ในโทนของถั่ว ผลไม้สุก บ๊วย น้ำตาลไหม้ อีกทั้งยังมีกลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์ของชาที่ผ่านการอบไฟแรง เป็นชาที่มีอายุการเก็บได้ยาวนาน สามารถเก็บได้เรื่อยๆ เป็นชาอีกตัวที่เหมาะสำหรับนำมาทำชาเก่า (老茶)
อ่านต่อ
ชาอู่หลง แบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทใหญ่ๆ ตามแหล่งกำเนิด ภาษาจีนเรียกว่า ซื่อต้าอู่หลง 四大烏龍 ได้แก่ กว่างตงอู่หลง หมินหนานอู่หลง หมินเป่ยอู่หลง และ ไถวันอู่หลง
อ่านต่อ
ต้นชาคือพืชที่อยู่ในสกุลคาเมลเลีย (Camellia) วงศ์ชา (Theaceae อ่านว่า ธีเอซี) ต้นชาก็เหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ คือมีหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆได้อย่างมากมาย
อ่านต่อ
Go to Top
error: Content is protected !!